ความรู้เกี่ยวกับการไหว้ครู
การไหว้ครู คือการที่ศิษย์แสดงความคารวะยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจว่า ท่านเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการจึงพร้อมใจกันปวารณาตน รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูด้วยความวิริยะอุตสาหะ มานะ อดทน เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางของการศึกษาตามที่ตั้งใจไว้ โดยทั่วไปแล้วจะพบว่ามีการไหว้ครูประเภทต่างๆ เช่น ไหว้ครูดนตรี ไหว้ครูช่าง ไหว้ครูนาฏศิลป์ แม้มวยไทย ก็มีการไหว้ครู จะเห็นว่าวิชาการต่างๆ ของคนไทยนั่นย่อมมีครูทั้งสิ้นส่วนใหญ่จะทำการไหว้ครูปีละครั้ง การที่ศิษย์ต้องเรียนกับครูนั้น จึงได้ชื่อว่า ศิษย์มีครู และคนไทยก็เป็นคนกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณจึงคิดถึงครูและมีพิธีไหว้ครู นอกจากจะแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อครูแล้วศิษย์อาจจะกระทำการอะไรบางอย่างด้วยความคิดของตนเองที่นอกเหนือจากการสอนของครู แม้ว่าการกระทำนี้จะเป็นการสร้างสรรค์ดี หรือไม่ดีก็ตามก็คือว่าเป็นการผิดครู ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ฉะนั้นการไหว้ครูจึงเป็นโอกาสให้ศิษย์ได้ขอขมาลาโทษต่อครู และมีโอกาสบอกกล่าวครูบาอาจารย์ด้วยว่า สิ่งใดที่คิดแล้วเกิดความเจริญสร้างสรรค์สิ่งที่ดีก็ขอให้เจริญก้าวหน้าเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป แต่ถ้าสิ่งใดคิดแล้วเป็นสิ่งไม่ดี มีการผิดพลาดก็ขอน้อมรับไว้ การบอกกล่าวเช่นนี้เท่ากับเป็นการไหว้ครูช่วยเป็นพยาน และให้อภัยต่อศิษย์ |
· การไหว้ครูต้องเป็นการไหว้ที่ออกมาจากน้ำใสใจจริง
ซึ่งได้แก่การบูชา การแสดงความคารวะ และความกตัญญู
·
เมื่อตั้งจิตสำนึกว่าจะยกย่องเทิดทูนคุณความดี
เรียกว่า บูชา
·
ด้วยความสำนึก และตระหนักถึงความสำคัญของท่านเรียกว่า คารวะ
·
ด้วยความสำนึก และระลึกถึงอุปการคุณของท่านเรียกว่า กตัญญู
· การไหว้ครูด้วยจิตที่ตั้งมั่นที่จะบูชา
แสดงความคารวะ และแสดงความกตัญญูนั้น ตัวศิษย์เองจะมีความรู้สึกที่ดีว่า
|
1. เราเป็นผู้ที่มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ของครูอย่างเต็มที่ 2. เราได้ใช้ความรู้ที่ได้เล่าเรียนมานั้นให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น 3. เราจะเป็นผู้ไม่ตกต่ำ 4. เราจะทำให้ความรู้และวิทยาการต่าง ๆ ก้าวหน้าขึ้น |
การไหว้ครูดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น มีการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาตามประเพณีของศิษย์มีครู ในสังคมไทย วันที่จะทำพิธีถือหลักว่าต้องเป็นวันพฤหัสบดี เพราะเชื่อว่า พระพฤหัสบดีเป็นเทพฤษี วันพฤหัสบดีจึงถือเป็นวันครู เครื่องสักการะที่ศิษย์จะต้องทำมามอบแก่ครูในวันไหว้ครู ได้แก่ พานดอกไม้ ธูปเทียนดอกไม้ในพานที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ขอการไหว้ครูซึ่งถือปฏิบัติกันมาช้านานแต่โบราณ คือดอกมะเขือ หญ้าแพรก ดอกเข็ม รวมทั้งข้าวตอก ซึ่งรวมอยู่ในพานด้วย ซึ่งดอกไม้แต่ละชนิดและหัวตอกมีความหมายต่างกันคือ |
ข้าวตอก เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย อยู่ในกรอบและควบคุมตัวเองได้ เปรียบกับการคั่วข้าวเปลือกให้เป็นข้าวตอก ถ้าเมล็ดข้าวเปลือกเมล็ดในกระเด็นออกจากภาชนะที่ครอบไว้ ไม่มีโอกาสได้เป็นข้าวตอกฉันใด เปรียบได้กับนักศึกษาที่ตามใจตนเอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ก็จะกระเด็นออกไปนอกกรอบของระเบียบวินัย ซึ่งทำให้ไม่มีโอกาสได้ความรู้ ฉันนั้น จึงต้องมีครูเป็นเสมือนภาชนะคั้นข้าวเปลือก และข้าวตอกมิให้กระเด็นออกไป อีกความความหนึ่งก็คือให้ความรู้แตกพอ
ดอกเข็ม เป็นสัญลักษณ์ของความมีสติปัญญาเฉียบแหลมประดุจดังเข็ม
|
ความสำคัญของพิธีไหว้ครู คำว่า "ครู" นั้น หมายถึงพระรัตนตรัย เทพเจ้า ครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว และท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว ซึ่งเมื่อได้ทำพิธีไหว้ครูแล้ว จะทำให้ศิษย์มีความสบายใจ และมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ตั้งใจมั่นคงที่จะประกอบคุณความดี ศึกษาเล่าเรียนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายต่อไป
คำกล่าวไหว้ครู
ทำนองสรภัญญะ
ปาเจรา จริยา โหนติ
คุณุตตรา นุสาสกา ฯข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์ ผู้กอปรเกิดประโยชน์ศึกษา ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชะกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทย เทอญ ฯ ปัญญา วุฑฒิ กเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง ฯ |
ที่มา :
ดร.สิริชัยชาญ
ฟ้าจำรูญ.(2546). ดุริยางคศิลป์ไทย. กรุงเทพ :
สถาบันไทยศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.http://www.east.spu.ac.th/